การสิ้นสุดการสมรส   

เมื่อมีการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วการสมรสนั้น จะสิ้นสุดลงด้วยเหตุต่าง ๆ ดังนี้

      ๑. เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย

      ๒. เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนเพราะการสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะ
          (ขอให้ดูเรื่องการสมรสที่เป็นโมฆียะ)

      ๓. โดยการหย่า ซึ่ง การหย่านั้น ทำได้ ๒ วิธี

           ๓.๑ หย่าโดยความยินยอม คือ กรณีที่ทั้งคู่ตกลงที่จะหย่ากันได้เอง กฎหมายบังคับว่าการหย่าโดยความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย ๒ คนและถ้าการสมรสนั้นมีการจดทะเบียนสมรส (ตามกฎหมายปัจจุบัน)       
         การหย่าก็ต้องไปจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียน ที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอด้วย มิฉะนั้นการหย่าย่อมไม่สมบูรณ์

           ๓.๒ หย่าโดยคำพิพากษาของศาล กรณีคู่สมรสฝ่ายหนึ่งประสงค์จะหย่าแต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการหย่า จึงต้องมีการฟ้องหย่าขึ้น
เหตุที่จะฟ้องหย่าได้คือ

      (1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามีเป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

       (2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
            (ก)ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง

            (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
            (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

      (3) สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

      (4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

           (4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควรอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

           (4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

      (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไรอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

      (6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
      (7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

      (8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

      (9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

     (10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

************************************************************************************************************************************************


      อนึ่ง การฟ้องหย่านั้น ต้องอ้างเหตุฟ้องหย่าตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวแล้วเท่านั้น และจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่า ฝ่ายที่ถูกฟ้องหย่าได้ประพฤติตนไม่สมควรแก่การเป็นสามีภรรยากัน หรือกระทำการอันเป็นเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุฟ้องหย่าด้วย ศาลจึงจะพิพากษาให้หย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน 

      ดังนั้น การฟ้องหย่าจึงไม่สามารถอ้างเหตุว่า คู่สมรสเข้ากันไม่ได้  หรือไม่รักกันแล้ว  หรืออยู่ด้วยกันไม่ได้ หรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน หรือไม่มีเพศสัมพันธ์กัน  เป็นต้น เรื่องนี้ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาวินิจฉัยถึงเหตุที่จะเอามาอ้างฟ้องหย่าว่าต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนเท่านั้น คือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2543 “เหตุฟ้องหย่าอันที่มิใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายประพฤติตนไม่สมควรหรือกระทำการอันเข้าเงื่อนไขที่มาตรา 1516 ได้ระบุไว้ นอกจากอนุมาตรา(4/2) ส่วนเหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น หากพฤติการณ์แห่งคดีมิได้เป็นไปดังที่ได้กล่าวมาทั้งสองกรณีนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกัน หรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม

       แม้จะถูกฟ้องหย่าหลายครั้ง จำเลยก็ไม่เคยคิดที่จะฟ้องหย่าโจทก์หรือมีความประสงค์ที่จะหย่าขาดจากโจทก์แต่อย่างใด รวมทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติกรรมในทำนองชู้สาวกับชายอื่นหรือนอกใจโจทก์ ตรงข้ามกับโจทก์ซึ่งมีพฤติกรรมอันส่อแสดงว่านอกใจจำเลยและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา จึงเป็นเหตุที่ทำให้จำเลยต้องทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยและสำนักราชเลขาธิการ รวมทั้งทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อบิดาและมารดาของหญิงที่ยุ่งเกี่ยวกับสามีของตน ตลอดจนฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงนั้นด้วย การที่จำเลยต้องกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ในหนังสือร้องเรียนและเบิกความเป็นพยานในคดีดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงนั้นแม้ถ้อยคำบางคำอาจเกินเลยและรุนแรงไปบ้างก็ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวด้วยความหึงหวงในตัวสามีอันเป็นธรรมชาติของภริยาโดยทั่วไป ทั้งเป็นการกล่าวโดยสุจริต โดยชอบธรรมเพื่อป้องกันส่วนได้เสียตามคลองธรรม จึงมิใช่เป็นการหมิ่นประมาท ดังนั้น ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงอันต้องด้วยเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3) อีกทั้งพฤติการณ์ระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิใช่กรณีที่สมัครใจแยกกันอยู่ตามมาตรา 1516(4/2) แต่เป็นกรณีโจทก์เป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา เมื่อจำเลยมิได้ประสงค์จะหย่าขาดจากโจทก์โจทก์ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้”



บริการด้านกฎหมาย โดยทีมทนายความ
© รับให้คำปรึกษาปัญหากฎหมายทางโทรศัพท์,ปรึกษาคดี (ฟรี)
© รับว่าความคดีแพ่ง : ฟ้องร้องคดีแพ่ง/ ฟ้องกู้ยืมและจำนอง/ ฟ้องเรียกเงินกู้/ ฟ้องลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน/ ผู้ค้ำประกันฟ้องไล่เบี้ยลูกหนี้
© รับว่าความคดีอาญา
......................................................................................................
  หากคุณมีปัญหาและต้องการคำปรึกษาด้านกฎหมาย   
ติดต่อได้ที่  ทนายภูวรินทร์ ทองคำ  โทร.081- 9250-144  
E-Mail : Phuwarinlawyer@hotmail.com

ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร 
(Notarial services Attorney)
           ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร (Notarial services Attorney) หรือต่างประเทศเรียกว่า โนตารีปับลิก (Notary Public) หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่รับรองเอกสารว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงจากต้นฉบับ หรือรับรองข้อความในบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง  หรือทะเบียนบ้านที่มีข้อความ แสดงว่าบุคคลนั้นมีสัญชาติไทย หรือรับรองลายมือชื่อที่มีการลงชื่อต่อหน้าในเอกสารนั้นๆ หรือรับรองหรือทำคำรับรองประเภทอื่นๆ รวมทั้งการลงลายมือชื่อในฐานะเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านั้นด้วย
         การรับรองลายมือชื่อและเอกสารดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ประกอบในการศึกษาต่อ หรือการทำ
นิติกรรมสัญญาหรือการทำงานธุรกิจเอกชนในต่างประเทศ โดยให้ทนายความที่ได้รับอนุญาตทำการลงลายมือชื่อ
และประทับตรา เพื่อให้เอกสารมีความน่าเชื่อถือและใช้ยืนยันในต่างประเทศได้
          ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยโนตารีปับลิก  ดังนั้น เมื่อมีความความจำเป็นต้องนำ
เอกสารจากประเทศไทยไปใช้ในต่างประเทศ จึงเกิดการติดขัด หรือขัดข้องในการทำนิติกรรมของคนไทยใน
ต่างประเทศเป็นอย่างมาก สภาทนายความจึงได้มีข้อบังคับว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรอง
ลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2551 ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Notarial Services Attorney”  เพื่อ
ทำหน้าที่ให้การรับรองลายมือชื่อและเอกสารต่างๆ มีความถูกต้องและรัดกุมในการที่จะนำไปใช้มากยิ่งขึ้น
โดยทำหน้าที่เช่นเดียวกับโนตารีปับลิก (Notary Public) ของต่างประเทศ
                 หน้าที่ของ Notary Public หรือ Notarial services Attorney   มีดังนี้
1.การรับรองลายมือชื่อบุคคลที่ได้มาแสดงตนและลงชื่อต่อหน้า
2.การรับรองสำเนาเอกสารทุกชนิดที่ทำขึ้นในประเทศหรือในต่างประเทศ
3.การรับรองรูปหรือภาพถ่ายบุคคลนั้น ๆ ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน
4.การทำคำสาบานที่เกี่ยวกับพยานวัตถุหรือเอกสาร
5.การบันทึกคำให้การที่ต้องมีคำสาบาน
6.การรับรองข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นความจริง
7.การทำคัดค้าน
8.การทำคำบันทึกหมายเหตุแนบท้ายเอกสารต่าง ๆ
9.การทำคำรับรองอื่น ๆรวมถึง การลงนามในฐานะเป็นพยานในเอกสารนั้น    

อัตราค่าบริการ Notary public ‘s Fee 

-รับรองเอกสารโนตารี พับลิค -รับรองลายมือชื่อ         ราคา 1,000 บาท
*ค่าบริการคิดเป็นเรื่อง หากใช้บริการหลายเรื่อง คิดราคาพิเศษ
-รับรองลายมือชื่อ notarized-legalized ต่อกรมกงสุล   ราคา 3,000 บาท
-รับรองลายมือชื่อกรรมการบริษัทมหาชน                    ราคา 5,000 บาท
*******************************************************************************************
หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริการโนตารี พับลิค  
ติดต่อได้ที่ ทนายภูวรินทร์ ทองคำ  โทร. 081- 9250-144  
นิติศาสตร์บัณฑิต (น.บ.),
เนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.)
ทนายความ/ Attorney At Law, License No.2807/2547
ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร/ Notarial Services Attorney, License No.6178/2557
E-mail : phuwarinlawyer@hotmail.com              
             phuwarinlawyer@gmail.com
                 http://www.phuwarinlawyer.com/
ทนายความรับรองลายมือชื่อ,รับรองเอกสาร

notary public 081-9250-144 ทนายความโนตารีพับลิค บริการรับรองเอกสารโนตารีพับลิค รับรองลายมือชื่อ รับรองสำเนาเอกสาร รับรองคำแปล รับรองบุคคล รับรองลายมือชื่อกรรมการบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด รับรองเอกสารต่างๆเพื่อนำไปใช้ในต่างประเทศ

Find a Notary Public in Bangkok Thailand outside service as you requested
please call us 081-9250-144    http://www.phuwarinlawyer.com/

บริการรับรองเอกสารโดยทนายความโนตารี พับลิค Notary Public 
Our service for notarial Services Attorney or Notary public

1. รับรองเอกสารเพื่อบังคับใช้ในอีกประเทศหนึ่ง เพื่อใช้ในต่างประเทศ
2. รับรองเอกสาร รับรองใบสมัคร เพื่อเรียนต่อต่างประเทศ Affidavit of support /Sponser Notarization
3. รับรองสำเนาเอกสาร Certified true copy
4. รับรองสถานะการเงิน Statement Notarization
5. รับรองคำแปลเอกสาร Certified true translation
6. รับรองลายมือชื่อ รับรองบุคคล รับรองลายมือชื่อกรรมการบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด
Signature Notarization and Legalization 
7. รับรองข้อเท็จจริง Marine protest Notary Public
8. รับรองความมีอยู่จริงของเอกสาร
9. รับรองการทำสัญญาระหว่างเอกชน Contract Agreement Notary Public
10. รับรองคำสาบาน Applicant Declaration
11. รับรองคำให้การ Declaration Notary Public
12. รับรองหนังสืออนุญาตจากผู้ปกครอง Letter of Authorization for Travel / Custodianship declaration-Parents / Guardians Notary Public 
อัตราค่าบริการ Notary public ‘s Fee
-รับรองเอกสารโนตารี พับลิค -รับรองลายมือชื่อ         ราคา 1,000 บาท
*ค่าบริการคิดเป็นเรื่อง หากใช้บริการหลายเรื่อง คิดราคาพิเศษ
-รับรองลายมือชื่อ notarized-legalized ต่อกรมกงสุล   ราคา 3,000 บาท
-รับรองลายมือชื่อกรรมการบริษัทมหาชน                    ราคา 5,000 บาท

ภูวรินทร์ ทองคำ / Phuwarin Thongkam
นิติศาสตร์บัณฑิต(น.บ.) , เนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.)
ทนายความ /Attorney At Law License No.2807/2547

ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร
Notarial Services Attorney License No.6178/2557
โทรศัพท์ (Tel.) 081-9250-144 

E-mail : Phuwarinlawyer@hotmail.com
              Phuwarinlawyer@gmail.com
              www.phuwarinlawyer.com