การสิ้นสุดการสมรส   

เมื่อมีการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วการสมรสนั้น จะสิ้นสุดลงด้วยเหตุต่าง ๆ ดังนี้

      ๑. เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย

      ๒. เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนเพราะการสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะ
          (ขอให้ดูเรื่องการสมรสที่เป็นโมฆียะ)

      ๓. โดยการหย่า ซึ่ง การหย่านั้น ทำได้ ๒ วิธี

           ๓.๑ หย่าโดยความยินยอม คือ กรณีที่ทั้งคู่ตกลงที่จะหย่ากันได้เอง กฎหมายบังคับว่าการหย่าโดยความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย ๒ คนและถ้าการสมรสนั้นมีการจดทะเบียนสมรส (ตามกฎหมายปัจจุบัน)       
         การหย่าก็ต้องไปจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียน ที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอด้วย มิฉะนั้นการหย่าย่อมไม่สมบูรณ์

           ๓.๒ หย่าโดยคำพิพากษาของศาล กรณีคู่สมรสฝ่ายหนึ่งประสงค์จะหย่าแต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการหย่า จึงต้องมีการฟ้องหย่าขึ้น
เหตุที่จะฟ้องหย่าได้คือ

      (1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามีเป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

       (2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
            (ก)ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง

            (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
            (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

      (3) สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

      (4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

           (4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควรอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

           (4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

      (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไรอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

      (6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
      (7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

      (8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

      (9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

     (10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

************************************************************************************************************************************************


      อนึ่ง การฟ้องหย่านั้น ต้องอ้างเหตุฟ้องหย่าตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวแล้วเท่านั้น และจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่า ฝ่ายที่ถูกฟ้องหย่าได้ประพฤติตนไม่สมควรแก่การเป็นสามีภรรยากัน หรือกระทำการอันเป็นเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุฟ้องหย่าด้วย ศาลจึงจะพิพากษาให้หย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน 

      ดังนั้น การฟ้องหย่าจึงไม่สามารถอ้างเหตุว่า คู่สมรสเข้ากันไม่ได้  หรือไม่รักกันแล้ว  หรืออยู่ด้วยกันไม่ได้ หรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน หรือไม่มีเพศสัมพันธ์กัน  เป็นต้น เรื่องนี้ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาวินิจฉัยถึงเหตุที่จะเอามาอ้างฟ้องหย่าว่าต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนเท่านั้น คือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2543 “เหตุฟ้องหย่าอันที่มิใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายประพฤติตนไม่สมควรหรือกระทำการอันเข้าเงื่อนไขที่มาตรา 1516 ได้ระบุไว้ นอกจากอนุมาตรา(4/2) ส่วนเหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น หากพฤติการณ์แห่งคดีมิได้เป็นไปดังที่ได้กล่าวมาทั้งสองกรณีนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกัน หรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม

       แม้จะถูกฟ้องหย่าหลายครั้ง จำเลยก็ไม่เคยคิดที่จะฟ้องหย่าโจทก์หรือมีความประสงค์ที่จะหย่าขาดจากโจทก์แต่อย่างใด รวมทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติกรรมในทำนองชู้สาวกับชายอื่นหรือนอกใจโจทก์ ตรงข้ามกับโจทก์ซึ่งมีพฤติกรรมอันส่อแสดงว่านอกใจจำเลยและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา จึงเป็นเหตุที่ทำให้จำเลยต้องทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยและสำนักราชเลขาธิการ รวมทั้งทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อบิดาและมารดาของหญิงที่ยุ่งเกี่ยวกับสามีของตน ตลอดจนฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงนั้นด้วย การที่จำเลยต้องกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ในหนังสือร้องเรียนและเบิกความเป็นพยานในคดีดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงนั้นแม้ถ้อยคำบางคำอาจเกินเลยและรุนแรงไปบ้างก็ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวด้วยความหึงหวงในตัวสามีอันเป็นธรรมชาติของภริยาโดยทั่วไป ทั้งเป็นการกล่าวโดยสุจริต โดยชอบธรรมเพื่อป้องกันส่วนได้เสียตามคลองธรรม จึงมิใช่เป็นการหมิ่นประมาท ดังนั้น ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงอันต้องด้วยเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3) อีกทั้งพฤติการณ์ระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิใช่กรณีที่สมัครใจแยกกันอยู่ตามมาตรา 1516(4/2) แต่เป็นกรณีโจทก์เป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา เมื่อจำเลยมิได้ประสงค์จะหย่าขาดจากโจทก์โจทก์ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้”



บริการด้านกฎหมาย โดยทีมทนายความ
© รับให้คำปรึกษาปัญหากฎหมายทางโทรศัพท์,ปรึกษาคดี (ฟรี)
© รับว่าความคดีแพ่ง : ฟ้องร้องคดีแพ่ง/ ฟ้องกู้ยืมและจำนอง/ ฟ้องเรียกเงินกู้/ ฟ้องลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน/ ผู้ค้ำประกันฟ้องไล่เบี้ยลูกหนี้
© รับว่าความคดีอาญา
......................................................................................................
  หากคุณมีปัญหาและต้องการคำปรึกษาด้านกฎหมาย   
ติดต่อได้ที่  ทนายภูวรินทร์ ทองคำ  โทร.081- 9250-144  
E-Mail : Phuwarinlawyer@hotmail.com

ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร 
(Notarial services Attorney)
           ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร (Notarial services Attorney) หรือต่างประเทศเรียกว่า โนตารีปับลิก (Notary Public) หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่รับรองเอกสารว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงจากต้นฉบับ หรือรับรองข้อความในบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง  หรือทะเบียนบ้านที่มีข้อความ แสดงว่าบุคคลนั้นมีสัญชาติไทย หรือรับรองลายมือชื่อที่มีการลงชื่อต่อหน้าในเอกสารนั้นๆ หรือรับรองหรือทำคำรับรองประเภทอื่นๆ รวมทั้งการลงลายมือชื่อในฐานะเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านั้นด้วย
         การรับรองลายมือชื่อและเอกสารดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ประกอบในการศึกษาต่อ หรือการทำ
นิติกรรมสัญญาหรือการทำงานธุรกิจเอกชนในต่างประเทศ โดยให้ทนายความที่ได้รับอนุญาตทำการลงลายมือชื่อ
และประทับตรา เพื่อให้เอกสารมีความน่าเชื่อถือและใช้ยืนยันในต่างประเทศได้
          ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยโนตารีปับลิก  ดังนั้น เมื่อมีความความจำเป็นต้องนำ
เอกสารจากประเทศไทยไปใช้ในต่างประเทศ จึงเกิดการติดขัด หรือขัดข้องในการทำนิติกรรมของคนไทยใน
ต่างประเทศเป็นอย่างมาก สภาทนายความจึงได้มีข้อบังคับว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรอง
ลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2551 ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Notarial Services Attorney”  เพื่อ
ทำหน้าที่ให้การรับรองลายมือชื่อและเอกสารต่างๆ มีความถูกต้องและรัดกุมในการที่จะนำไปใช้มากยิ่งขึ้น
โดยทำหน้าที่เช่นเดียวกับโนตารีปับลิก (Notary Public) ของต่างประเทศ
                 หน้าที่ของ Notary Public หรือ Notarial services Attorney   มีดังนี้
1.การรับรองลายมือชื่อบุคคลที่ได้มาแสดงตนและลงชื่อต่อหน้า
2.การรับรองสำเนาเอกสารทุกชนิดที่ทำขึ้นในประเทศหรือในต่างประเทศ
3.การรับรองรูปหรือภาพถ่ายบุคคลนั้น ๆ ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน
4.การทำคำสาบานที่เกี่ยวกับพยานวัตถุหรือเอกสาร
5.การบันทึกคำให้การที่ต้องมีคำสาบาน
6.การรับรองข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นความจริง
7.การทำคัดค้าน
8.การทำคำบันทึกหมายเหตุแนบท้ายเอกสารต่าง ๆ
9.การทำคำรับรองอื่น ๆรวมถึง การลงนามในฐานะเป็นพยานในเอกสารนั้น    

อัตราค่าบริการ Notary public ‘s Fee 

-รับรองเอกสารโนตารี พับลิค -รับรองลายมือชื่อ         ราคา 1,000 บาท
*ค่าบริการคิดเป็นเรื่อง หากใช้บริการหลายเรื่อง คิดราคาพิเศษ
-รับรองลายมือชื่อ notarized-legalized ต่อกรมกงสุล   ราคา 3,000 บาท
-รับรองลายมือชื่อกรรมการบริษัทมหาชน                    ราคา 5,000 บาท
*******************************************************************************************
หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริการโนตารี พับลิค  
ติดต่อได้ที่ ทนายภูวรินทร์ ทองคำ  โทร. 081- 9250-144  
นิติศาสตร์บัณฑิต (น.บ.),
เนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.)
ทนายความ/ Attorney At Law, License No.2807/2547
ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร/ Notarial Services Attorney, License No.6178/2557
E-mail : phuwarinlawyer@hotmail.com              
             phuwarinlawyer@gmail.com
                 http://www.phuwarinlawyer.com/